โซเดียมคาร์บอเนต,
โซเดียมคาร์บอเนท, Sodium Carbonate
โซเดียมคาร์บอเนต หรือ โซดา แอช สูตรเคมี คือ Na2CO3 เป็นสารประกอบเกลือของกรดคาร์บอนิก
มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น สามารถดูดความชื้นจากอากาศได้ดี ละลายได้ในน้ำ
มีฤทธิ์เป็นด่างแก่เมื่อละลายน้ำ ละลายได้เล็กน้อยในแอลกอฮอล์
พบในขี้เถ้าของพืชหลายชนิดและสาหร่ายทะเล (จึงได้ชื่อว่า โซดา แอช เนื่องจาก แอช
ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ขี้เถ้า) เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น แก้ว
เซรามิคส์ กระดาษ ผงซักฟอก สบู่ การแก้ไขน้ำกระด้าง โซเดียมคาร์บอเนต
พบได้ในธรรมชาติในเขตแห้งแล้ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งแร่ที่เกิดจากทะเลสาบที่ระเหยแห้งไป ในสมัยอียิปต์โบราณ
มีการขุดแร่ที่เรียกว่า เนทรอน (natron) (ซึ่งเป็นเกลือที่ประกอบด้วยโซเดียมคาร์บอเนต
(หรือ โซดา แอช) และโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้ง โซดา) และมีโซเดียมคลอไรด์
(เกลือแกง) และโซเดียมซัลเฟต ปนอยู่เล็กน้อย) จากก้นทะเลสาบที่แห้ง ใกล้แม่น้ำไนล์
และนำมาใช้ในการทำมัมมี่ ใน ปี พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) พบแหล่งแร่โซเดียมคาร์บอเนตขนาดใหญ่ใกล้แม่น้ำกรีนริเวอร์
รัฐไวโอมิง สหรัฐอเมริกา ทำให้สหรัฐขุดแร่มาใช้แทนการผลิตทางกรรมวิธีทางเคมี ในประเทศอื่น
ๆ การผลิตโซเดียมคาร์บอเนตทำโดยกรรมวิธีทางเคมีที่เรียกว่า กระบวนการโซลเวย์ (Solvay
process) ซึ่งค้นพบโดย
เออร์เนส โซลเวย์ นักอุตสาหกรรมเคมีชาวเบลเยี่ยม ในปี พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1861)
โดยเปลี่ยน โซเดียมคลอไรด์ (น้ำเกลือ) เป็น โซเดียมคาร์บอเนต โดยใช้ แอมโมเนีย และ
แคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน) และสารที่เหลือจากกระบวนการมีเพียง แคลเซียมคลอไรด์
ซึ่งไม่เป็นพิษแม้ว่าอาจก่อให้เกิดความระคายเคืองได้ และ
แอมโมเนียนั้นยังสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก
ทำให้กระบวนการโซลเวย์มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่ากรรมวิธีแบบเดิมมาก
จึงถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตอย่างแพร่หลาย ในคริสต์ศตวรรษ
1900 โซเดียมคาร์บอเนต 90% ที่ผลิต ใช้วิธีการนี้ และยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน เดิมนั้นการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตทำโดยกระบวนเคมีที่เรียกว่า
กระบวนการเลอบลังก์ (Leblanc process) ซึ่งค้นพบโดยนักเคมีชาวฝรั่งเศส ชื่อ
นิโคลาส เลอบลังก์ ในปี พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1791) โดยใช้ โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง)
กรดซัลฟูริก (กรดกำมะถัน) แคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน) และถ่าน แต่กรดไฮโดรคลอริค
(กรดเกลือ) ที่เกิดจากกระบวนการนี้ ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ และแคลเซียมซัลไฟด์
ที่เหลือจากกระบวนการทำให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม
แต่เนื่องจากโซเดียมคาร์บอเนตเป็นสารเคมีพื้นฐานในอุตสาหกรรมหลายชนิด
ทำให้มีการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตโดยกรรมวิธีนี้ และเป็นกรรมวิธีหลักมาจนถึงช่วงปี
พ.ศ. 2423 - 2433 (ช่วง ค.ศ. 1880 - 1890) หลังการค้นพบกระบวนการโซลเวย์ กว่า 20
ปี โรงงานผลิตแคลเซียมคาร์บอเนตที่ใช้กระบวนการ เลอบรังค์แห่งสุดท้ายปิดลงในช่วงปี
พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920)
Sodium carbonate (also known as washing soda, soda ash
and soda crystals), Na2CO3, is a sodium salt of carbonic acid (soluble in water). It
most commonly occurs as a crystalline heptahydrate, which readily effloresces
to form a white powder, the monohydrate. Pure sodium carbonate is a white,
odorless powder that absorbs moisture from the air, has an alkaline taste, and
forms a strongly alkaline water solution. Sodium carbonate is domestically well
known for its everyday use as a water softener. It can be extracted from the
ashes of many plants. It is synthetically produced in large quantities from
salt (sodium chloride) and limestone by a method known as the Solvay process.
The manufacture of glass is one of the most important
uses of sodium carbonate. Sodium carbonate acts as a flux for silica, lowering
the melting point of the mixture to something achievable without special
materials. This "soda glass" is mildly water soluble, so some calcium
carbonate is added to the pre-melt mixture to make the glass produced insoluble.
This type of glass is known as soda lime glass: "soda" for the sodium
carbonate and "lime" for the calcium carbonate. Soda lime glass has
been the most common form of glass for centuries. Sodium carbonate is also used
as a relatively strong base in various settings. For example, sodium carbonate
is used as a pH regulator to maintain stable alkaline conditions necessary for
the action of the majority of photographic film developing agents. It is a
common additive in municipal pools used to neutralize the corrosive effects of
chlorine and raise pH. In cooking, it is sometimes used in place of sodium
hydroxide for lyeing, especially with German pretzels and lye rolls. These
dishes are treated with a solution of an alkaline substance to change the pH of
the surface of the food and improve browning. In taxidermy, sodium carbonate
added to boiling water will remove flesh from the skull or bones of trophies to
create the "European skull mount" or for educational display in
biological and historical studies. In chemistry, it is often used as an
electrolyte. This is because electrolytes are usually salt-based, and sodium
carbonate acts as a very good conductor in the process of electrolysis. In
addition, unlike chloride ions, which form chlorine gas, carbonate ions are not
corrosive to the anodes. It is also used as a primary standard for acid-base
titrations because it is solid and air-stable, making it easy to weigh
accurately.
Domestic use In domestic use, it is used as a water
softener in laundering. It competes with the magnesium and calcium ions in hard
water and prevents them from bonding with the detergent being used. Sodium
carbonate can be used to remove grease, oil and wine stains. Sodium carbonate
is also used as a descaling agent in boilers such as those found in coffee pots
and espresso machines.
In dyeing with fiber-reactive dyes, sodium carbonate
(often under a name such as soda ash fixative or soda ash activator) is used to
ensure proper chemical bonding of the dye with cellulose (plant) fibers,
typically before dyeing (for tie dyes), mixed with the dye (for dye painting),
or after dyeing (for immersion dyeing).
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายขาย
Thai Poly Chemicals Co., Ltd.
บริษัท ไทยโพลีเคมิคอล จำกัด
ที่อยู่36/5 ม.9 แขวง/ตำบลนาดี เขต/อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร รหัสไปรษณีย์74000
Tel.: 034854888, 034496284
Fax.: 034854899, 034496285
Mobile: 0824504888, 0800160016
Website : www.thaipolychemicals.com
Email1 : thaipolychemicals@hotmail.com
Email2 : info@thaipolychemicals.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น